000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > หรือ SOFTWARE จะครองโลก
วันที่ : 25/01/2016
6,803 views

หรือ SOFTWARE จะครองโลก

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

      อุปกรณ์อีเล็คโทรนิค (Electronic Device) ซึ่งรวมเครื่องเสียงด้วย เช่น เครื่องเล่น CD, เครื่องเล่น MEDIA (อ่าน SD, USB – Type A / Type B , HDD, เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต), ปรีแอมป์, เพาเวอร์แอมป์, อินทริเกรทแอมป์(สายสัญญาณเสียง, สายลำโพง ก็อาจจัดอยู่ในส่วน อุปกรณ์เสริม)

       ทั้งหมด ทำงานโดยการควบคุมของวงจรอีเล็คโทรนิคส์ ที่จับต้องได้เป็นอะไหล่เป็นตัวๆ เป็นชิ้นเป็นอันที่ตายตัว เราเรียกว่า เป็นการควบคุม ทำงาน โดยฮาร์ดแวร์ (HARD-WARE)

       อีกวิธีที่จะถูกสั่งให้ทำงาน, ควบคุม โดยใช้โปรแกรมที่เขียนเป็นคำสั่งอยู่ในรูปดิจิตอล ไปควบคุมอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคส์อีกที มีหน่วยประมวลผลนำ “คำสั่งโปรแกรมการทำงาน” มาสังเคราะห์และทำตามคำสั่ง(เรียกส่วนนี้ว่า MICRO-PROCESSOR) เรียกโปรแกรมว่า SOFTWARE นี่คือการทำงานบนซอฟท์แวร์(SOFTWARE)

 ข้อดีของการทำงานบนฮาร์ดแวร์

1.    ความเสถียรและความไว้เนื้อเชื่อใจได้ เนื่องจากการใช้อะไหล่อีเล็คโทรนิกส์เป็นตัวๆเห็นๆกันเลย  ซึ่งถ้าเลือกใช้อะไหล่เกรดดีจริงแล้ว จะทนทาน, เที่ยงตรง, ไม่พลาด, อ่อนไหวต่อสิ่งเร้ากวนจากภายนอกน้อยมาก

2.    บำรุงรักษาซ่อมแซมโดยช่างอีเล็คโทรนิคส์ที่มีความเชี่ยวชาญหน่อยก็ได้แล้ว เข้าใจ, อ่านวงจรเป็นก็ซ่อมได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องหาผู้ชำนาญการพิเศษ

3.    ต้นทุนการดำเนินงานต่ำกว่าแบบซอฟท์แวร์มาก จึงเหมาะกับการผลิตน้อยชิ้น

4.    ไม่ถูกป่วนจากการโจมตีทางไซเบอร์(ไวรัสต่างๆ)อย่างซอฟท์แวร์

 ข้อเสียของการทำงานบนฮาร์ดแวร์

1.    ต้นทุนการผลิตจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนการผลิต (อาจลดลงบ้างกรณีผลิตเยอะๆ แต่ก็ยังเพิ่มขึ้นตามจำนวนชิ้น

2.    เป็นคำสั่งที่ตายตัว แทบจะกระดิกอะไรไม่ได้ ไม่ยืดหยุ่น ปรับปรุง(UPGRADE)อะไรไม่ได้ ถ้าจะ ปรับปรุงก็แทบจะต้องว่ากันนับหนึ่งใหม่

3.    ในการออกแบบ จะทราบว่าได้ผลดีเลวแค่ไหน หรือไม่อย่างไร ต้องลงมือทำอุปกรณ์ชิ้นส่วนขึ้นมาจริงๆ (อย่างน้อยก็ตัวอย่างต้นแบบ) เป็นการสิ้นเปลือง, ต้นทุนสูง, และเสียเวลาอย่างมาก

   ข้อดีของการทำงานบนซอฟท์แวร์

1.    ลงทุนครั้งเดียว ครั้งแรกกับหน่วยประมวลผล (MICRO PROCESSOR) จากนั้นก็แค่เขียนโปรแกรมคำสั่งในรูปซอฟท์แวร์ ให้แก่หน่วยประมวลผลไปสั่งการทำงานของอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคส์จริงๆอีกที

2.    การใช้งานมีความยืดหยุ่นสูงสุด ทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบคำสั่ง, การปรับปรุง, การเก็บเกี่ยวประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคส์นั้นๆได้อย่างสูงสุด เกือบใกล้จุดวิกฤต(BREAK POINT) ได้  โดยมีระบบตรวจสอบวัด คอยแก้ไขชดเชย ระแวดระวังได้ตลอดเวลา ไม่ต้องออกแบบเผื่อเยอะๆอย่างการทำงานบนฮาร์ดแวร์

3.    การทำงานโดยองค์รวมจะดีขึ้นเรื่อยๆไม่รู้จบ ตามการพัฒนาของหน่วยประมวลผลและซอฟท์แวร์คำสั่ง (เช่น หน่วยความจำมากขึ้น, ความเร็วสูงขึ้น, ความเที่ยงตรงละเอียดขึ้น (BIT DEPTH) โดยไม่จำเป็น  ต้องเปลี่ยนชุดทำงานด้านอีเล็คโทรนิคส์อื่นๆที่มารองรับบ่อยมากนัก

4.    ต้นทุนการผลิตอุปกรณ์อีเล็คโทรนิคส์ที่ทำงานบนซอฟท์แวร์จะถูกลงเรื่อยๆ อย่างไม่รู้จบต่อจำนวนการผลิต จริงอยู่ ต้นทุนการเขียนโปรแกรมคำสั่งจะสูงมาก (แต่จะถูกลงถ้ามีหลายๆคำสั่งที่เอื้อต่อกันและกันเอง) และจะถูกวูบลงทันทีถ้าผลิตเยอะๆ ถ้าผลิตจำนวนมหาศาล ต้นทุนการเขียนโปรแกรมนี้จะเกือบไม่มีเลย (เมื่อเฉลี่ยต่อชิ้นงาน)

 ข้อเสียของการทำงานบนซอฟท์แวร์

1.    ดังกล่าวแล้ว ถ้าผลิตจำนวนน้อยชิ้น ค่าเขียนโปรแกรมจะไม่คุ้ม

2.    การซ่อมบำรุงต้องอาศัยโปรแกรมเมอร์ที่เชี่ยวชาญ และมีข้อมูลของซอฟท์แวร์นั้นๆ ไม่เช่นนั้น ก็แทบทำอะไรไม่ได้ ผู้ซื้อจึงต้องพึ่งพาผู้ผลิตอย่างไม่สามารถสลัดออกได้เลย (เป็นทาสตลอดไป)

3.    ผู้ผลิตอาจวางยาไว้ในซอฟท์แวร์ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ผู้ซื้อต้องมาให้ผู้ผลิต ปรับปรุงซอฟท์แวร์ใหม่ (อาจแทบไม่ได้ทำอะไรมากนัก แค่มาตั้งนาฬิกาหยุดใหม่...SET STOP WATCH ใหม่) ถ้าไม่ปรับปรุงซอฟท์แวร์เดิมนั้นจะถูกสั่งหยุดการทำงานทั้งหมด หรือป่วนการทำงานทั้งหมด

        แต่วิธีนี้ก็มีข้อดีที่ผู้ผลิตเครื่องอาจคิดค่าเครื่องไม่สูงลิบนัก แต่ใช้วิธีขอแบ่งผลประโยชน์จากผู้ซื้อ เป็นเปอร์เซ็น แต่ถ้าผู้ซื้อเบี้ยว ผู้ผลิตเครื่องก็จะไม่ต่ออายุซอฟท์แวร์ให้

4.    ซอฟท์แวร์คำสั่งที่เขียนมาดีๆ จากผู้เชี่ยวชาญจริงๆ อาจมีความเสถียรสูง ทั้งต่อการรบกวนจากคลื่นหรือระบบไฟฟ้าภายนอก (นี่ก็นับเป็นข้อเสียอีกข้อที่มักประสบกันเสมอ) และจากความผิดพลาดของหน่วยประมวลผลเอง ผู้เขียนซอฟท์แวร์ที่มีความรับผิดชอบสูง จึงต้องเขียนคำสั่งสำรองเผื่อเหตุการณ์อันไม่คาดฝันไว้ด้วย

5.    มีโอกาสถูกแทรกแซง ป่วน จากแฮกเกอร์ภายนอกที่ไม่หวังดีได้ โดนทีเดียวมีโอกาสเสียหายมหาศาลจนเจ๊งได้เลย

6.    เจ้าหน้าที่ที่คุมและเข้าถึงซอฟท์แวร์ได้ ถือเป็นตัวอันตรายของบริษัท ถ้าเขาคิดไม่ซื่อ อาจแก้ไขซอฟท์แวร์ให้เครื่องทำงานเสียหาย การผลิตเสียหาย หรือหมกเม็ดผลผลิตที่ถูกทำให้กลายเป็นอันตรายไว้โดยเจ้าของบริษัทไม่รู้ และออกวางจำหน่ายผลผลิตสู่ตลาด

       นั่นเป็นภาพรวมของการผลิตอุปกรณ์ทั้งที่ทำงานบนฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ ในกรณีของวงการเครื่องเสียง แต่เดิมก็ทำงานบนฮาร์ดแวร์ 95% เป็นปกติ แต่แนวโน้มปัจจุบัน เริ่มมีการผลิตเครื่องเสียงที่ทำงานบนซอฟท์แวร์แล้ว ได้แก่

1.    แหล่งรายการ ไม่ว่า เครื่องเล่น CD, บลูเรย์, MEDIA PLAYER ต่างทำงานบนซอฟท์แวร์ทั้งสิ้นเนื่องจากระบบทำงานทั้งหมดอยู่ในรูปดิจิตอลอยู่แล้ว จึงเป็นการง่ายและสะดวกที่จะทำงานบนซอฟท์แวร์ได้เลย

2.    จูนเนอร์รับวิทยุ FM ระดับไฮเอนต์บ้าน เริ่มทำงานบนซอฟท์แวร์แล้ว ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับได้อย่างเหลือเชื่อ (เกือบถึงในอุดมคติ) อย่างที่ระบบฮาร์ดแวร์ไม่มีทางทำได้เลย (ภาครับวิทยุ FM/AM ติดรถของฟรอนท์ บางรุ่นก็เริ่มทำงานบนซอฟท์แวร์แล้ว)

3.    เครื่องขยายรีซีฟเวอร์ ทำงานบนซอฟท์แวร์ทั้งหมดแล้ว (ในรูปดิจิตอล) เหลือแต่ภาคขยายขาออกสุดท้ายที่ยังเป็นอนาลอก (แต่หลายรุ่นภาคขาออกก็เป็นดิจิตอลแล้ว)

4.    เครื่องขยายเสียง สเตอริโอ 2 CH ที่มีภาคถอดสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาลอก (DAC) ในตัว การทำงานภาคปรีมักเป็นซอฟท์แวร์แล้ว รวมทั้งเครื่องขายเสียงหูฟังที่มี DAC ในตัว

5.    เครื่องขยายเสียงหลอด เริ่มใช้ MICRO PROCESSOR /ซอฟท์แวร์ในการควบคุมการทำงานของตัวหลอด (เป็นการเขียนซอฟท์แวร์แบบตายตัว....EPORM)

6.    ดิจิตอลแอมป์ 2 CH ระดับไฮเอนด์ ที่ผนวกภาคเชื่อมต่อดิจิตอลหลากรูปแบบจากภายนอก ทั้งแบบสัญญาณไฟฟ้า และแบบคลื่นวิทยุไร้สาย ทำงานบนซอฟท์แวร์อย่างเต็มตัว

7.    เครื่อง MIXER, EFFECT ต่างๆในสตูดิโอบันทึกเสียง ทำงานบนซอฟท์แวร์ 95% แล้ว

8.    ฟรอนท์รถยนต์ภาคปรีทั้งหมด ทำงานบนซอฟท์แวร์ทั้งนั้น

9.    เครื่องเสียงพกพา(รวมโทรศัพท์มือถือ) ทำงานบนระบบซอฟท์แวร์ล้วนๆ

10.  เครื่องขยายเสียงระบบ PA งานสาธารณะ ก้าวเข้าสู่ยุคซอฟท์แวร์อย่างเต็มตัวแล้ว

  แนวโน้มอนาคตเครื่องเสียงกับการทำงานบนซอฟท์แวร์

1.    ดิจิตอลแอมป์จะมีบทบาทมากขึ้นๆ ขยายออกทุกระดับไล่ตั้งแต่เครื่องเสียงราคาถูก ถึงระดับไฮเอนด์พวกนี้จะทำงานบนซอฟท์แวร์ ต่อไปคงมีการเขียนซอฟท์แวร์ขายให้เลือกว่าต้องการเสียงแนวไหน  แนวยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ แนวเครื่อง PA  แนวเครื่องหลอด (เครื่องหลอดยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้, หลอดเบอร์นั้น เบอร์นี้), เลือกเพิ่มซอฟท์แวร์ EQUALIZER, ซอฟท์แวร์แก้ห้องก้อง, ซอฟท์แวร์ปรับความต้านทาน/สเปคของภาครับจานเสียง (PHONO EQUALIZER), ซอฟท์แวร์ปรับเวที/สนาม เสียง ฯลฯ

2.    ขายหูฟัง พร้อม App ซอฟท์แวร์ สำหรับเลือกปรับสุ้มเสียงได้ตามใจชอบ (มีขายแล้ว สำหรับการฟังผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน กับหูฟัง Bluetooth ไร้สาย)

3.    ขายสายสัญญาณเสียง, สายสัญญาณดิจิตอล, สายลำโพง ที่มาพร้อมกับ App ซอฟท์แวร์ของสายรุ่นนึงๆ

4.    มีการทำกล่องดำ (Black Box) ขาย ที่สามารถดาวน์โหลดซอฟท์แวร์ ปรับเสียงได้จากเวบไซต์ของผู้ผลิตกล่องนั้น หรือไม่ดาวน์โหลด แต่สั่งซื้อ SD การ์ดซอฟท์แวร์ของผู้ผลิตกล่องนั้นมาเสียบ อัพเกรดได้โดยกล่องนั้นมี INPUT/OUTPUT ทั้งแบบดิจิตอลและอนาลอก เครื่องเล่น CD, Bluray ก็ได้

5.    App ซอฟท์แวร์อาจมีทั้งสำเร็จรูป หรือแบบผู้ใช้ปรับเปลี่ยนค่าตัวแปรต่างๆเองได้ (แบบที่มีใช้กันอยู่แล้วในวงการบันทึกเสียง STUDIO/PC)

       บทส่งท้าย ดูเหมือนว่า ซอฟท์แวร์จะเป็นอนาคตของทุกๆวงการด้านอีเล็คโทรนิคส์ (แม้แต่พวกเครื่องภาพ, เครื่องใช้ไฟฟ้า (WHITE  GOOD) ไม่เฉพาะเครื่องเสียง (ที่มาที่หลังด้วยซ้ำ) มันช่วยเปิดจินตนาการให้กว้างออกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และดูเหมือนไร้ขีดจำกัดด้วย

       อย่างไรก็ตาม เครื่องเสียงทำมาเพื่อการเสพที่ดื่มด่ำในอารมณ์ที่สมจริง ในทุกๆมิติแห่งการรับรู้ ตราบใดที่ข้อถกเถียงรื่องเสียงจากระบบดิจิตอลยังมีเสน่ห์เทียบไม่ได้เลยกับเสียงจากระบบอนาลอก

       เครื่องเสียงที่เป็นดิจิตอลและทำงานบนซอฟท์แวร์ ก็อาจเป็นแค่ตัวอย่างของความก้าวหน้าด้านซอฟท์แวร์ ที่จุดประกายความคิด, ความสนุกอย่างจอมปลอม ที่ไม่มีวันเข้าถึงอารมณ์แห่งดนตรีจริงๆได้เลย

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459